DNK Orchid Online
March 28, 2024, 03:38:55 pm
Welcome, Guest. Please login or register.

Login with username, password and session length
News: DNK Orchid Online

ติดต่อผมทุกกรณี ที่ E-Mail : iamdankydank@gmail.com  

หรือ
   


มือถือ : 0962254496(แด๊ง)

 
Danky Dank

Create Your Badge
 
  Home   Forum   Help Search Arcade Links Staff List Login Register  

จุลินทรีย์ชีวภาพ สลายกากตะกอนอินทรีย์&#

+-+-
+-User
Pages: [1]
  Reply  |  Print  
Author Topic: จุลินทรีย์ชีวภาพ สลายกากตะกอนอินทรีย์&#  (Read 3 times)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
siritidaphon
Hero Member
*****
Posts: 3173


View Profile
« on: October 21, 2018, 08:53:41 am »
Reply with quoteQuote

ผลระทบของตะกอนเลนต่อการเลี้ยงกุ้ง   เมื่อเกิดตะกอนมาก  ส่งผลให้ค่าพีเอชและค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำรอบวันแกว่งมาก   การให้อาหารที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของกุ้งในบ่อ หรือการที่ต้องให้อาหารมากเนื่องจากการลงกุ้งในบ่ออย่างหนาแน่น จะทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ในอาหารที่เหลือและขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมาในตะกอนเลนพื้นบ่อเป็นปริมาณมาก   เมื่อเกิดการย่อยสลายจะทำให้มีการสะสมของธาตุอาหารต่าง ๆ ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากด้วย ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้เป็นตัวเร่งส่งผลทำให้แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  จนทำให้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชหนาแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำในบ่อมีสีเขียวเข้ม น้ำหนืดเร็ว มีค่าความโปร่งแสงต่ำ ซึ่งการที่อัตราการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชรวดเร็วจนกระทั่งสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ค่าพีเอชและค่าออกซิเจนในรอบวันมีความแตกต่างกันมาก โดยในช่วงเวลากลางคืนจนกระทั่งถึงเช้าน้ำในบ่อเลี้ยงจะมีค่าพีเอชลดลงมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนก็จะลดต่ำลงด้วยอาจไม่เพียงพอต่อกุ้งได้   ส่วนในเวลากลางวันน้ำจะมีค่าออกซิเจนสูงเกินจุดอิ่มตัวและมีค่าพีเอชสูง ซึ่งการแกว่งของค่าพีเอชและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำค่อนข้างมากย่อมส่งผลกระทบต่อกุ้งโดยตรง ทำให้กุ้งเครียด เจริญเติบโตช้า ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย รวมทั้งการที่พีเอชของน้ำที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อสารพิษบางตัว เช่น แอมโมเนีย มีความเป็นพิษเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อกุ้งได้ นอกจากนี้เมื่อมีปัจจัยควบคุมการสังเคราะห์แสง เช่น ความเข้มแสงที่ลดลง ก็ทำให้เกิดการตายของแพลงก์ตอนพร้อม ๆ กัน ออกซิเจนจะถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายซากแพลงก์ตอนเหล่านี้    ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเกิดสภาวะการขาดแคลดออกซิเจน ส่งผลให้กุ้งเครียด อ่อนแอ กุ้งกินอาหารได้ลดลง หรืออาจมีการตายของกุ้งในกรณีที่ระดับออกซิเจนลดต่ำมาก    ถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาก็จะเกิดสภาวะไร้ออกซิเจนที่พื้นบ่อ ทำให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ยิ่งลดน้อยลงไปอีก เนื่องจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนจะเกิดขึ้นดีและเร็วกว่าการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ต่างๆเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้สารพิษบางชนิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน  เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้งจากกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนโดยแบคทีเรียบางกลุ่มสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้โดยใช้ออกซิเจนจากซัลเฟต (SO2-4) ทำให้ได้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นรูปของสารประกอบซัลไฟด์ที่เป็นพิษต่อกุ้ง โดยความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าจะทำให้สัตว์เกิดอาการคล้ายกับการขาดออกซิเจนแต่จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจนมาก ซึ่งสภาวะดังกล่าวทำให้กุ้งอ่อนแอ และเกิดการตายของกุ้งได้
แอมโมเนีย กระบวนการย่อยสลายประกอบไนโตรเจนในสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของตะกอนเลน  โดยจุลินทรีย์ทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนียในน้ำ ซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้กุ้งขับถ่ายแอมโมเนียออกจากตัวได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อ ทำให้ค่าพีเอชของเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนั้นแอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและทำให้การขนส่งออกซิเจนได้น้อยลงทำให้กุ้งอ่อนแอ ติดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายแลละอาจทำให้เกิดการตายของกุ้งด้วย



จุลินทรีย์ชีวภาพ สลายกากตะกอนอินทรีย์บ่อกุ้ง ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bcithailand.net/จุลินทรีย์ชีวภาพ/
Report Spam   Logged

Share on Facebook Share on Twitter


Pages: [1]
  Reply  |  Print  
 
Jump to:  

+-Recent Topics
Powered by EzPortal
Bookmark this site! | Upgrade This Forum
SMF For Free - Create your own Forum


Powered by SMF | SMF © 2016, Simple Machines
Privacy Policy